ระบบธุรกิจ (Business System)

ระบบธุรกิจ (Business System)

ความหมายของธุรกิจ ธุรกิจ (Business) หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่ทำให้มีการผลิตสินค้าและบริการ มีการซื้อขายแลกเปลี่ยน จำหน่าย กระจายสินค้า และมีประโยชน์หรือกำไรจากกิจกรรมนั้น ธุรกิจมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในสังคมปัจจุบันมาก

ประเภทของธุรกิจ
   
      การแบ่งประเภทของธุรกิจตามลักษณะของกิจกรรมที่ดำเนินการสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
      1. ธุรกิจการเกษตร (Agriculture) ได้แก่ การทำนา การทำไร่ การทำสวน การทำป่าไม้ การทำปศุสัตว์ ฯลฯ

      2. ธุรกิจอุตสาหกรรม (Manufacturing) ได้แก่ ธุรกิจผลิตสินค้าเพื่ออุปโภค ทั้งในรูปแบบของอุตสาหกรรมในครัวเรือน และอุตสาหกรรมโรงงาน
      3. ธุรกิจการพาณิชย์ (Commercial) เป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับกระจายสินค้าที่ผลิตจากอุตสาหกรรมต่างๆ ไปสู่ผู้บริโภคสินค้าตามความต้องการ ได้แก่ ธุรกิจพ่อค้าคนกลาง ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก ตัวแทนจำหน่ายสินค้าต่างๆ
      4. ธุรกิจการก่อสร้าง (Construdtion) เป็นธุรกิจเกี่ยวกับการนำวัสดุต่างๆ ได้แก่ อิฐ หิน ปูน ทราย มาใช้ในการก่อสร้าง เช่น การสร้างถนน อาคาร สำนักงาน เขื่อน โรงพยาบาล เป็นต้น

      5. ธุรกิจการเงิน (Finance) เป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับส่งเสริมให้ธุรกิจอื่นทำงานได้คล่องตัวขึ้น เนื่องจากในการทำธุรกิจจะต้องเริ่มจากการลงทุน ซึ่งต้องใช้เงินในการลงทุน เช่น นำมาซื้อที่ดิน ปลูกสร้างอาคาร จ้างคนงาน ซื้อวัตถุดิบ ซื้อเครื่องจักร ฯลฯ

      6. ธุรกิจให้บริการ (Service) เป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับการอำนวยการความสะดวกสบายให้แก่ผู้บริโภค ได้แก่ ธุรกิจการขนส่ง ธุรกิจการสื่อสาร ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจการโรงแรม ฯลฯ
      7. ธุรกิจอื่นๆ เป็นธุรกิจที่นอกเหนือจากธุรกิจ ประเภทที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ได้แก่ ผู้ประกอบธุรกิจอาชีพอิสระต่างๆ เช่น วิศวกร แพทย์ สถาปัตยกรรม ช่างฝีมือ ประติมากรรม ฯลฯ

วัตถุประสงค์ของธุรกิจ
       
       ในการดำเนินการธุรกิจไม่ว่าจะเป็นประเภทใดๆ ก็ตาม ผู้ประกอบการ จะมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินธุรกิจ ดังนี้
        1. ผลกำไร (Profit) วัตถุประสงค์สำคัญของการดำเนินธุรกิจ คือ ผลกำไร ซึ่งเป็นผลตอบแทนของการลงทุนจากทรัพย์สิน แรงงานและความรู้ความสามารถผลกำไรจึงเป็นสิ่งจูงใจให้ดำเนินกิจกรรมต่อไป
        2. ความอยู่รอด (Survival) เมื่อผู้ประกอบการตัดสินใจดำเนินธุรกิจแล้วย่อมต้องการให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ และมีกิจการที่ดำเนินการอย่างยาวนาน เพื่อทำหน้าที่ผลิตสินค้าและบริการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค

       3. ความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibilities)            ผู้ประกอบการที่ดีจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ให้สอดคล้องกับความรับผิดชอบของธุรกิจคือมีความซื่อสัตย์กับลูกค้า สังคมและสิ่งแวดล้อม ด้วยการพัฒนาสังคมชีวิตความเป็นอยู่ของผู้บริโภคให้ดีขึ้น




ประโยชน์ของธุรกิจ
       
      1. ทำให้เกิดกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ซึ่งมีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด เช่น เมื่อมีบ้านแล้วย่อมต้องการเฟอร์นิเจอร์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องอำนวยความสะดวกสบายต่างๆ ภายในบ้าน เป็นต้น
       2. ช่วยกระจายสินค้าจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภค องค์กรธุรกิจเมื่อผลิตสินค้าแล้ว ย่อมต้องการขายหรือจำหน่ายสินค้าออกสู่ผู้บริโภค ซึ่งอยู่กระจายตามส่วนต่างๆ ของประเทศหรือกระจายอยู่ทั่วโลก
       3. เกิดการจ้างงาน ธุรกิจจำเป็นต้องจ้างบุคคลอื่นเข้ามาทำงานในกิจการ ทำให้ประชาชนมีรายได้จากการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมของผู้ผลิต หรือเป้นพนักงานขายในร้านค้าปลีกต่างๆ ทำให้มีรายได้เมื่อคนมีรายได้จะนำไปซื้อหาสินค้าและบริการต่างๆ
       4. ช่วยให้ประชาชนมีมาตรฐานการคอรงชีพดีขึ้น การที่ประชาชนซึ่งอยู่ห่างไกลความเจริญมีงานทำและมีรายได้จากองค์กรธุรกิจ ทำให้มีโอกาสได้เลือกซื้อสินค้าและบริการที่มีคุณภาพดีขึ้น
       5. เกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี กิจกรรมทางธุรกิจก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น มีเครื่องจกรที่ทันสมัยในการผลิตสินค้า มีเครื่องมือสื่อสารที่ก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น จานดาวเทียม โทรศัพท์ มือถือ ตลอดจนมีเครื่องมือต่างๆ

ปัจจัยในการดำเนินธุรกิจ
      
       การดำเนินธุรกิจต้องอาศัยหลายๆ ปัจจัยประกอบกัน จึงจะเกิดกิจกรรมในการประกอบธุรกิจ จะขาด ปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งไม่ได้ โดยทั่วไปปัจจัยพื้นฐาน ในการนำเนินธุรกิจมี 4 ประเภท ที่เรียกว่า 4 M ได้แก่
       1. คน (Man) ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด เพราะธุรกิจต่างๆ เกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความคิดของคน มีคนเป็นผู้ดำเนินการหรือเป็นผู้จัดการ
        2. เงิน (Money) เงินทุนเป็นปัจจัยในการดำเนินธุรกิจอีกชนิดหนึ่งที่ต้องนำมาใช้ในการลงทุน เพื่่อให้เกิดการประกอบธุรกิจ  โดยธุรกิจแต่ละประเภทใช้ปริมาณเงินทุนที่แตกต่างกัน
        3. วัสดุหรือวัตถุดิบ (Materrial) ในการผลิตสินค้าต้องอาศัยวัตถุดิบในการผลิตค่อนข้างมากผู้บริหารจึงต้องรู้จักการบริหารวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพ
        4. วิธีปฏิบัติงาน (Method) เป็นวิธีการปฏิบัติงานในแต่ละขั้นตอนของการดำเนินธุรกิจ ซึ่งต้องมีการวางแผนและควบคุม เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทะิภาพ

หน้าที่ในการประกอบธุรกิจ
     
      ธุรกิจทุกประเภทต่างมีหน้าที่ในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในด้านต่างๆ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความพอใใจสูงสุด เกิดอรรถประโยชน์สูงสุด สามารถบำบัดความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างสมบูรณ์หน้าที่ดังกล่าว ได้แก่
        1. การผลิต (Production) เป็นกิจกรรมในการแปรรูปวัตถุดิบให้เป็นสินค้าหรือบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคเกิดความพึงพอใจในการบริโภค
        2. การจัดหาเงินทุน (Capital) เงินทุนถือว่าเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญในการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบะธุรกิจจึงต้องมีการบริหารเงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งจัดสรรเงินทุนในการดำเนินงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด
        3. การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) คนถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญมากที่สุดในการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องจัดหาบุคคลที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับตำแหน่งงาน
        4. การบริหารการตลาด (Marketing Management) เป็นกระบวนการทีทำให้สินค้าหรือบริการถึงมือผู้บริโภค เพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ผู้บริโภค


       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น